My Melody Crying

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Save No.11

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday, October 28, 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20


เนื้อหาการเรียนการสอนวันนี้
กิจกรรมในชั้นเรียน
วันนี้อาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาได้ทามการทดลองทางวิทยาศาสตร์ 
อุปกรณ์ มีดังนี้ค่ะ





กิจกรรมในชั้นเรียน
กิจกรรมที่1
อาจารย์ได้นำอุปกรณ์ที่อาจารย์ที่เตรียมมาจากนั้นอาจารย์ได้ทำการทดลอง ดังนี้  อาจารย์นำเทียนมาจุดไฟแล้วจากนั้นนำแก้วมาครอบที่เทียน
ผลการทดลอง 
เราจะเห็นได้ว่าเมื่อเรานำแก้วมาครอบลงที่เทียนที่กำลังจุดไฟอยู่เทียนนั้นจะค่อยๆดับไป  
กิจกรรมที่2
อาจารย์ให้นักศึกษานำกระดาษA4มาฉียแบ่งออกเป็น4ส่วน  จากนั้นให้นักศึกษาพับแล้วก็ฉีกออกเป็นรูปทรงคล้ายๆกับดอกไม้  จากนั้นก็พับกลีบทุกกลีบเข้าหากัน  จะเป็นดังนี้ค่ะ




การทดลองมีดังนี้ค่ะ





ผลการทดลอง
เราจะเห็นได้ว่ากระดาษที่พับเหมือนกลีบดอกไม้เมื่อเรานำลงไปลอยในน้ำกระดาษนั้นจะค่อยๆบานออกมาเรื่อยๆ
กิจกรรมที่3
อาจารยืได้นำดินน้ำมันมาให้นักศึกษานวดให้นิ่มก่อนจากนั้นให้นักศึกษาจากนั้นให้นำดินน้ำมันที่ปั้นเป็นก้อนไปใส่ลงในน้ำ  ดังนี้






ผลการทดลอง
เราจะเห็นได้ว่าดินน้ำมันจะจมลงน้ำทันทีเมื่อเราทิ้งลงดินน้ำมันลงน้ำ
กิจกรรมที่4
อาจรยืให้นำดินน้ำมันมาปั้นเปลี่ยนจากรูปทรงอันที่ปั้นจากกิจกรรมที่3  มาปั้นให้แบนแล้วจากนั้นก็นำไปลอยน้ำเหมือนเดิม  ดังนี้ค่ะ



ผลการทดลอง
เราจะเห้นได้ว่าแต่ละคนจะมีการปั้นดินน้ำมันที่ลักษณะที่แตกต่างกัน  ถ้าเราปั้นดินน้ำมันให้แบนๆจะเห็นได้ว่าดินน้ำมันจะจมลงเร็วกว่าดินน้ำมันที่ปั้นแบนๆแล้วมีขอบด้านข้างและถ้ายิ่งวางลูกแร้วดินน้ำมันก็จะยิ่งจมลงเร็วกว่าเดิม
     การที่ดินน้ำมันจะลอยน้ำน้ำได้ดีขึ้นอยู่กับการปั้นขอบของดินน้ำมันว่าจะสูงมากแค่ไหน  ถ้ามีการปั้นขอบด้านข้างที่สูงมากเท่าไหล่ดินน้ำมันก็จะสามารถรับน้ำหนักของลูกแก้วได้และยังสามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้นานอีกด้วย   กิจกรรมนี้สื่อให้เห็นว่ามีใช้หลักการเดียวกับการสร้างเรือ
กิจกรรมที่5
อาจารย์ได้นำปากกามาลอยน้ำในแก้วน้ำให้นักศึกษาได้ดู  ดังนี้



ผลที่เกิดขึ้น คือ
-เราจะมองเห็นได้ว่าปากกาจะมีลักษณะที่ใหญ่ขึ้น
-สังเกตได้ปากกามีลักษณะเหมือนกับว่าปากกาหักอยู่
     การทดลองนี้เกิดขึ้นเพราะการหักเหของแสงและวัตถุ
เนื้อหาการเขียนแผน
-วัตถุประสงค์
-แนวคิด
-กรอบพัฒนาการ
-บูรณาการทักษะรายวิชา
-6กิจกรรมหลัก
-ขั้นตอนการเขียนแผนตามลำดับของเนื้อหาแต่ละวัน   เช่น  1.ชนิด 2.ลักษณะ 3.การเลี้ยงดู 4.วัฏจักร 5.ประโยชน์
-วิธีการตั้งคำถามปลายเปิด
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำวิธีในการทดลองวิทยาศาสตร์ในวันนี้เราสามารถนำไปสอนได้จริงให้กับเด็กปฐมวัยได้
เทคนิคการสอน
วันนี้อาจารย์โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม คือให้นักศึกษได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม และใช้สื่อประกอบการปฏิบัติกิจกรรม เช่น การทดลอง  การลองทำ  เป็นต้น
การประเมิน (Assessment)
ประเมินตนเอง
-การแต่งกาย  วันนี้แต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ
-เวลาเข้าเรียน  วันนี้มาเรียนตรงเวลาไม่เข้าเรียนสาย
-การเรียน  วันนี้พยายามตั้งใจเรียนเต็มที่ค่ะและพยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่อาจารย์สอนมากที่สุดและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ทำในวันนี้ค่ะ
ประเมินเพื่อน
-การแต่งกาย  วันนี้ส่วนมากแต่งกายเรียบร้อยค่ะแต่อาจมีบางคนที่ไม่ใส่ชุดพละ
-เวลาเข้าเรียน ส่วนมากจะมารอเรียนพร้อมกันทุกคนค่ะแต่อาจจะมีบางคนที่เข้าเรียนช้าค่ะ
-การเรียน  ส่วนใหญ่วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีค่ะแต่อาจจะมีส่งเสียงดังบ้างค่ะและวันนี้เพื่อนๆทุกคนก็ตั้งใจทำผลงานที่อาจารย์มอบหมายให้ค่ะ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-การแต่งกาย   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะกับบุคลิกภาพค่ะ
-เวลาเข้าสอน  วันอาจารย์มาตรงต่อเวลาค่ะ
-การจัดการเรียนการสอน วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมใหม่มาให้นักศึกษาได้ทำคือการทดลองทางวิทยาศาสตร์  เป็นกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อและอาจารย์เองก็สอนและอธิบายในการทำกิจกรรมได้อย่างเข้าใจได้ง่ายมากค่ะ

Chonticha  Pongkom No. 31






วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Save No.10

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday, October 21, 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20
กิจกรรมในชั้นเรียน
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้ออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ออกมานำเสนอค่ะ
จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาจัดโต๊ะแล้วนั่งกันเป็นกลุ่ม  แล้วช่วยกันและปรึกษากันในการเขียนแผน  จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายขั้นตอนในการเขียนแผนต่างๆ เช่น วัตถุประสงค์ แนวคิด  แผนที่ใยแมงมุม ประสบการณ์สำคัญ  การบูรณาการ เป็นต้น
กลุ่มของดิฉันจะสอนเรื่อง กบ (Frog)  โดยกลุ่มของดิฉันได้แบ่งการเขียนเป็น5วันดังนี้
1.ชนิดของกบ
2.ลักษณะของกบ
3.ประโยชน์ของกบ
4.การเลี้ยงดูกบ
5.วงชีวิตของกบ




Chonticha  Pongkom  No.31

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Save No.9

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday, October 14, 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20
Activities
อาจารย์นักศึกษานั่งตามเลขที่เหมือนเดิมจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ตามเลขที่  และเวลานักศึกษาออกมานำเสนอผลงานของตนเองอาจารย์ก็มักจะมีคำแนะนำเพิ่มเติมในกับนักศึกษาอยู่เสมอเพื่อให้ของเล่นที่นักศึกษาที่มามันจะได้สมบูรณ์มากกว่าเดิมค่ะ
ผลงานของเล่นวิทยาศาสตร์ของดิฉันมีชื่อว่า  ปืนลูกโป่ง
อุปกรณ์
1.แกนกระดาษชำระ
2.ลูกโป่ง
3.กรรไกร
4.กาว
5.กระดาษสี
6.ลูกปิงปอง หรือเหรียญที่สามารถใช้เป็นลูกกระสุนของปืนก็ได้ค่ะ
วิธีทำ
1.นำลูกมาตัดแล้วสวมเข้ากับแกนกระดาษชำระให้พอดี
2.จากนั้นติดกาวแน่นหนาพอที่เวลาเราดึงลูกโป่งจะไม่หลุดออกมา
3.ตกแต่งแกนกระดาษชำระให้สวยงาม




วิธีเล่น
นำลูกปิงปองใส่ลงไปในแกนกระดาษชำระ จากนั้นใช้มือดึงปลายลูกโป่งแล้วปล่อยมือ  จากนั้นลูกปิงปองก็จะพุ่งออกไป ดิฉันได้มีการสาธิตในการเล่นดังนี้ค่ะ




หลักการทางวิทยาศาสตร์
ลูกโ่ป่งเป็นวัตถุที่มีความยืดหยุ่นเมื่อถูกดึงให้ยืดออกไปจากนั้นจะเกิดการสะสมที่เรียกว่าพลังงานศักย์ยืดหยุ่น และเมื่อเราปล่อยมือพลังงานศักย์จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์  พลังงานจลน์ก็คือพลังที่วัตถุเคลื่อน  ดังนั้นถ้าเราออกแรงดึงลูกโป่งมากก็จะทำให้เกิดความเร็วกับลูกปิงปองมากขึ้น
ผลงานของเล่นวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ







เพิ่มเติม
วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนการเขียนหน่วยการเรียนรู้และงานเขียนแผนกลุ่ม  และได้สั่งการบ้านการเข้ามุมวิทยาศาสตร์ โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างได้ดูเช่น เรื่องมะพร้าว ในมุมวิทยาศาสตร์อาจจะมีการนำกะลามะพร้าวมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ เช่น นาฬิกาทราย เป็นต้น 
สรุปและการนำไปประยุกต์ใช้
 เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์  เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้นกับของเล่น  มีผลอย่างไร  แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น  ซึ่งการเล่นของเล่นวิทยาศาสตร์  ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา  สัมผัสกับมือ  เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น  การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร  หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย
เทคนิคการสอน
อาจารย์มีการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนและเปิดกว้างให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่างๆ 
การประเมิน(Assessment)
ประเมินตนเอง
-เข้าเรียนตรงเวลา
-เเสดงข้อคิดเห็นจากบทเรียนเเละเนื้อหาที่เรียน
-เเต่งกายเรียบร้อยด้วยชุดนักศึกษา
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนร่วมกันช่วยเเชร์ประสบการณ์ที่เคยสัมผัสอาการบกพร่องในเเต่ละด้าน
-ส่วนใหญ่เเต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา
-อาจารย์อธิบายในการนำเสนอสื่อของนักศึกษาและได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมได้อย่างเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น


Chonticha  Pongkom No.31

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Save No. 8

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday, October 7, 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20

เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีการสอบกลางภาคจึงทำให้ไม่มีการเรียนการสอน



Chonticha  Pongkom No.31

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557