My Melody Crying

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Save No.9

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday, October 14, 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20
Activities
อาจารย์นักศึกษานั่งตามเลขที่เหมือนเดิมจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ตามเลขที่  และเวลานักศึกษาออกมานำเสนอผลงานของตนเองอาจารย์ก็มักจะมีคำแนะนำเพิ่มเติมในกับนักศึกษาอยู่เสมอเพื่อให้ของเล่นที่นักศึกษาที่มามันจะได้สมบูรณ์มากกว่าเดิมค่ะ
ผลงานของเล่นวิทยาศาสตร์ของดิฉันมีชื่อว่า  ปืนลูกโป่ง
อุปกรณ์
1.แกนกระดาษชำระ
2.ลูกโป่ง
3.กรรไกร
4.กาว
5.กระดาษสี
6.ลูกปิงปอง หรือเหรียญที่สามารถใช้เป็นลูกกระสุนของปืนก็ได้ค่ะ
วิธีทำ
1.นำลูกมาตัดแล้วสวมเข้ากับแกนกระดาษชำระให้พอดี
2.จากนั้นติดกาวแน่นหนาพอที่เวลาเราดึงลูกโป่งจะไม่หลุดออกมา
3.ตกแต่งแกนกระดาษชำระให้สวยงาม




วิธีเล่น
นำลูกปิงปองใส่ลงไปในแกนกระดาษชำระ จากนั้นใช้มือดึงปลายลูกโป่งแล้วปล่อยมือ  จากนั้นลูกปิงปองก็จะพุ่งออกไป ดิฉันได้มีการสาธิตในการเล่นดังนี้ค่ะ




หลักการทางวิทยาศาสตร์
ลูกโ่ป่งเป็นวัตถุที่มีความยืดหยุ่นเมื่อถูกดึงให้ยืดออกไปจากนั้นจะเกิดการสะสมที่เรียกว่าพลังงานศักย์ยืดหยุ่น และเมื่อเราปล่อยมือพลังงานศักย์จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์  พลังงานจลน์ก็คือพลังที่วัตถุเคลื่อน  ดังนั้นถ้าเราออกแรงดึงลูกโป่งมากก็จะทำให้เกิดความเร็วกับลูกปิงปองมากขึ้น
ผลงานของเล่นวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ







เพิ่มเติม
วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนการเขียนหน่วยการเรียนรู้และงานเขียนแผนกลุ่ม  และได้สั่งการบ้านการเข้ามุมวิทยาศาสตร์ โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างได้ดูเช่น เรื่องมะพร้าว ในมุมวิทยาศาสตร์อาจจะมีการนำกะลามะพร้าวมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ เช่น นาฬิกาทราย เป็นต้น 
สรุปและการนำไปประยุกต์ใช้
 เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์  เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้นกับของเล่น  มีผลอย่างไร  แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น  ซึ่งการเล่นของเล่นวิทยาศาสตร์  ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา  สัมผัสกับมือ  เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น  การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร  หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย
เทคนิคการสอน
อาจารย์มีการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนและเปิดกว้างให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่างๆ 
การประเมิน(Assessment)
ประเมินตนเอง
-เข้าเรียนตรงเวลา
-เเสดงข้อคิดเห็นจากบทเรียนเเละเนื้อหาที่เรียน
-เเต่งกายเรียบร้อยด้วยชุดนักศึกษา
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนร่วมกันช่วยเเชร์ประสบการณ์ที่เคยสัมผัสอาการบกพร่องในเเต่ละด้าน
-ส่วนใหญ่เเต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา
-อาจารย์อธิบายในการนำเสนอสื่อของนักศึกษาและได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมได้อย่างเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น


Chonticha  Pongkom No.31

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น