My Melody Crying

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Save No.16

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday,December 2 , 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20

           วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มออกแบบใบสารสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับเนื้อหาที่เด็กๆ จะได้เรียน โดยกลุ่มของดิฉันทำใบสารสัมพันธ์ในหน่วย กบ




สรุปการทำกิจกรรม
          ใบสารสัมพันธ์เป็นสื่อในการส่งข่าวกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน การทำใบสารสัมพันธ์ทำให้ผู้ปกครองได้รู้ว่าทางโรงเรียนกำลังสอนเรื่องอะไร และผู้ปกครองก็จะได้สอนเด็กมาจากบ้านเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเรียนให้กับตัวเด็กได้
ความรู้ที่ได้รับ
          ทำให้ได้รู้เทคนิคในการออกแบบใบสารสัมพันธ์ เพื่อที่จะสามารถนำไปออกแบบใบแผ่นพับให้น่าสนใจได้ 
ประเมินตนเอง
          วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาและแต่งกายเรียบร้อยค่ะ
ประเมินเพื่อน
           วันนี้เพื่อนๆ แต่งกายเรียบร้อยค่ะ แต่ก็มีบางคนที่แต่งกายไม่ถูกระเบียบตามที่ตกลงกันไว้
ประเมินอาจารย์
          วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาดีค่ะ 

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Save No.15

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday,November 25 , 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20


วันนี้อาจารย์ก็ให้นักศึกษานำสื่อวิทยาศาสตร์ที่ทำนำออกมานำเสนออีกครั้งและนำมาจัดแยกเป็นหมวหมู่  เช่น แสง  อากาศ  น้ำ  เสียง เป็นต้น  โดยสื่อของดิฉันมีชื่อว่า  ปืนลูกโปร่ง  


หลักการทางวิทยาศาสตร์ของปืนลูกโปร่ง
ลูกโ่ป่งเป็นวัตถุที่มีความยืดหยุ่นเมื่อถูกดึงให้ยืดออกไปจากนั้นจะเกิดการสะสมที่เรียกว่าพลังงานศักย์ยืดหยุ่น และเมื่อเราปล่อยมือพลังงานศักย์จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์  พลังงานจลน์ก็คือพลังที่วัตถุเคลื่อน  ดังนั้นถ้าเราออกแรงดึงลูกโป่งมากก็จะทำให้เกิดความเร็วกับลูกปิงปองมากขึ้น
จากนั้นอาจารย์ให้นำเสนอโทรทัศน์ครู
วันนี้ดิฉันได้นำเสนอ โทรทัศน์ครูเรื่อง  จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย  ตอนเสียงมาจากไหน



องค์ความรู้จากการดูโทรทัศน์ครู
หลัการของอาจารย์เฉลิมชัยคือ สอนให้สนุกน่าสนใจไม่ไกลตัวเน้นการทดลอง  ความรู้จะเกิดขึ้นเอง    เด็กได้ลงมือกระทำจะทำให้เด็กจำและไม่ลืมจากการทดลองด้วยตนเอง    จากVDOนี้ อาจารย์เฉลิมชัย จะสอนนักเรียนในเรื่องของเสียง การกำเนิดของเสียงและการเดินทางของเสียง    อาจารย์เฉลิมชัย นำเข้าสู่บทเรียนโดยการให้นักเรียนออกมาแสดงความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีแล้วใช้คำถามกับนักเรียนว่า  เสียงเกิดจากอะไร   และพยายามนำสื่อที่หลากหลายมาสาธิตให้นักเรียนดูและให้นักเรียนออกมาทดลองด้วยตนเองเลยทำให้เกิดการเรียนรู้และสนุกกับการเรียน
กิจกรรมในชั้นเรียนทำไอติมน้ําเฮลบลูบอย
อุปกรณ์
-น้ําเฮลบลูบอย
-เกลือเม็ด
-น้ำเปล่า
-น้ำแข็ง
-หม้อ
วิธีทำ
1.นำน้ำหวานผสมกับน้ำเปล่าให้พอดีจากนั้นทุกคนต้องออกมาตักใส่ถุงต่อ1คน    
2.นำน้ำแข็งกับเกลือเม็ดเทใส่หม้อที่เตรียมไว้
3.แล้วนำน้ำหวานที่ใส่ถุงไว้น้ำใส่ลงหม้อแล้วหมุนไปเรื่อยๆจนกว่าจะแข็ง  โดยทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการโดยนักศึกษามาช่วยสลับในการหมุนหม้อ
สรุปผลการทดลอง
เกลือเมื่อผสมกับน้ำแข็งจะช่วยทำให้น้ำหวานแข็งตัวเป็นไอศครีม
ประโยชน์ที่เด็กได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้จากการทำกิจกรรมทำไอติมน้ําเฮลบลูบอย
1. เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
2. เพื่อให้เด็กได้ฝึกการเรียนจากการทดลอง
3. เพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการด้านร่างกาย  เช่น เวลาหยิบจับอุปกรณ์   หรือเวลาหมุนหม้อเพื่อให้ไอติมแข็งตัว
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาและวันนี้ดิฉันมีความเตรียมตัวและเตรียมความมาอย่างดีในการนำเสนอสื่อและการนำเสนอองค์ความรู้จากโทรทัศน์ครู
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆทุกคนสนุกกับการทำไอติมมากๆค่ะและมีความร่วมมือกับการทำไอติม
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนดีมากค่ะเพราะว่าอาจารย์ชอบมีกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อมาให้นักศึกษาได้ทำอยู่ตลอดเวลาและให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทดลองหรือทำกิจกรรมตลอดเวลา   และอาจารย์ก็มีการสรุปองค์ความรู้ต่างให้นักศึกษาได้เข้าใจ

Chonticha   Ponhkom  No.31



วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Save No.14

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday,November 18 , 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20
กิจกรรมวันนี้
-อาจารย์พูดถึงเรื่องการอัพ Blogger  เพราะว่ายังมีบางคนที่ยังไม่อัพบล็อดเรย
-อาจารย์อธิบายวิธีการสรุปงานวิจัย
  1.ชื่อวิจัย
  2.นิยาม
  3.ขั้นตอน
-อาจารย์อธิบายขั้นตอนสรุปโทรทัศน์ครู
  1.การส่งเสริมของเนื้อหา
  2.วิธีการแก้ไข
  3.วิธีการสอน
  4.ขั้นตอนการสอน
กิจกรรมในห้องเรียน
วันนี้อาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำขนม Waffleโดยให้นักศึกษาต้องมีส่วนร่วมในการทำทุกคน  พร้อมอธิบายขั้นตอนต่างๆ   โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการทำดังนี้ค่ะ


อุปกรณ์
1.แป้งสำเร็จรูป
2.ไข่ไก่
3.นมสด
4.เนย
5.น้ำร้อน
6.เตาWaffel







ขั้นตอนการทำ
นำนม น้ำร้อน  ผสมกัยแป้งสำเร็จรูปที่เตรียมมาจากขนให้เข้ากันแล้วตอกไข่ใส่แล้วคนให้เข้ากันโดยให้แป้งละเอียดที่สุดจากนั้นก็ใส่เนยคนจนให้แป้งเข้าที่    จากนั้นทุกคนต้องมาตักแป้งใส่ถ้วยของตัวเองแล้วก็นำไปใส่เตาWaffle 














นำเสนอแผนการสอน
วันได้นำเสนอแผนการสอนโดยเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนอมีดังนี้
-เรื่องชนิดของดิน
-เรื่องประโยชน์ของสับปะรด
โดยแผนที่เพื่อนๆออกมานำเสนออาจารย์ได้ให้คำแนะนำต่างๆมากมาย  เช่น ขั้นนำจะต้องมีความสัมพันธ์กันกับขั้นสอน
สรุปการทำกิจกรรม
กิจกรรมการทำWaffle  เป็นกิจกรรมที่ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกัน  
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปจัดการเรียนการให้กับเด็กปฐมวัยได้และยังสามารถช่วยส่งพัฒนาการทั้ง4ด้านของเด็กปฐมวัยอีกด้วย   และยังสามารถนำกิจกรรมวันไปบูรณาการให้เข้าคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย  เช่น การนับ  การตวง  เป็นต้น
ประเมินตนเอง
วันนี้ดิฉันตั้งใจทำกิจกรรมมากๆค่ะ  และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากพอสมควร    
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆดูมีความสุขกับการทำกิจกรรมมากๆค่ะและก็มีส่วนร่วมกันทุกคน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนสนุกมากค่ะเพราะอาจารย์ชอบหากิจกรรมใหม่ๆ มาให้นักศึกษาได้เรียนรู้   เพราะการเรียนรู้เกิดได้ทุกที่ถ้าเราตั้งใจและไม่จำเป็นที่จะต้องเปิดตำราอ่านอย่างเดียว     การสอนของอาจารย์ทำให้นักศึกษามีความสุขไปกับสอนของอาจารยืมากๆค่ะ

Chonticha  Pongkom  No.31















วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
          การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความสามารถของเด็กในด้านต่างๆ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับเด็กหรือการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก
          การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์ตามปกติในกิจวัตรประจำวัน ครูที่ประเมินอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบสามารถใช้หลักสูตรและจัดประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคลิกภาพของเด็ก
หลักการประเมินพัฒนาการของเด็ก
หลักการประเมินพัฒนาการของเด็กตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้
          1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
          2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
          3. สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับกิจกรรมประจำวัน
          4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนเลือกใช้เครื่องมือ และจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
          5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลายๆ ด้านไม่ควรใช้การทดสอบ
แนวทางการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยตามสภาพจริง
การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยตามสภาพจริงมีแนวทางดังต่อไปนี้
          1. ใช้เครื่องมือประเมินที่เหมาะสมกับพัฒนาการและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย กล่าวคือ ครูต้องศึกษาพัฒนาการทุกด้านของเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อกำหนดตัวบ่งชี้ในเครื่องมือการประเมิน การที่ครูรู้พัฒนาการและเข้าใจจุดหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนและเหมาะสมจะทำให้ครูสามารถประเมินพัฒนาการและผลการเรียนรู้อย่างแท้จริงได้
          2. ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินที่เหมาะสมคือ การสังเกตหรือการสนทนากับเด็ก แล้วบันทึกอย่างเป็นระบบ วิธีการบันทึกอาจใช้วิธีการสำรวจรายการ การจดบันทึกพฤติกรรมมาตราส่วนประเมินค่า อาจใช้วิธีการบันทึกวีดีทัศน์ บันทึกเสียง เก็บตัวอย่างงาน หรือใช้แฟ้มสะสมงาน(Portfoollo) ทั้งนี้ ครูควรเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือในแต่ละประเภท และเลือกใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถสะท้อนการเรียนรู้ของเด็กอย่างแท้จริง
          3. บูรณาการการสอนกับการประเมิน การประเมินถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ การประเมินอย่างต่อเนื่องทำให้ครูทราบพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เข้าใจเด็ก และรู้ว่าจะพัฒนาเด็กอย่างไรต่อต่อไป งานที่สำคัญของครูในส่วนนี้ คือ ครูต้องทบทวนว่าจะประเมินพัฒนาการตามรายการใด เลือกใช้เครื่องมือประเมินชนิดใด ประเมินในช่วงเวลาใดในกิจกรรมประจำวันที่จัดขึ้น การวางแผนการประเมินที่เหมาะสมและยืดหยุ่นได้จะช่วยให้ครูสามารถจัดประสบการณ์โดยทำการประเมินควบคู่กันไปได้อย่างราบรื่น
          4. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก ในการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ ครูควรบันทึกสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เพื่อเป็นการประเมินความก้าวหน้าของเด็ก ไม่ควรมุ่งสังเกตสิ่งที่เด็กยังไม่สามารถทำได้ การทราบสิ่งที่เด็กทำได้จะช่วยให้ครูสามารถแนะนำ สนับสนุนให้เด็กก้าวไปสู่พัฒนาการในขั้นที่สูงขึ้นได้ การเน้นที่ความก้าวหน้าของเด็กนี้ถือเป็นการวินิจฉัยและช่วยแก้ปัญหาให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี
          5. ให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลผลิต ขณะที่เด็กร่วมกิจกรรมครูควรให้ความสนใจกับกระบวนการในการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ขณะที่เด็กกำลังลงชื่อมาโรงเรียน เมื่อครูสังเกตกระบวนการทำงานของเด็ก จะพบว่า เด็กบางคนใช้วิธีลอกชื่อของตนโดยมองจากชื่อที่ปักที่เสื้อ ทำให้ผลงานการเขียนมีลักษณะกลับหัว บางคนอาจเขียนไดอย่างคล่องแคล่วจากความจำของตนเองโดยที่ผลผลิตลักษณะใกล้เคียงกับคนที่เขียนโดยการคัดลอกจากแบบที่ครูเตรียมไว้ หากไม่สังเกตกระบวนการย่อมทำให้ครูไม่สามารถให้ความช่วยเหลือเด็กได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามครูควรให้ความสนใจและควรตรวจสอบทั้งกระบวนการและผลผลิตควบคู่กันไป
          6. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย ครูจำเป็นต้องประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กจากบริบทที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่ตรงตามสภาพจริงของเด็ก การด่วนสรุปจากบริบทใดบริบทหนึ่งอาจทำให้ไม่ได้ผลการประเมินที่แท้จริง เนื่องจากเด็กอาจจะทำกิจกรรมในบริบทหนึ่งได้ดีกว่าอีกบริบทก็ได้
          7. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล การประเมินพัฒนาการและและการเรียนรู้ของเด็กปฐววัย ครูต้องเฝ้าสังเกตเด็กแต่ละคน เพื่อให้รู้จักเด็กเป็นรายบุคคล การประเมินเป็นร
ายบุบคลนอกจากจะทำให้สร้างทราบความก้าวหน้าของเด็กแล้ว ยังช่วยใครูทราบความสนใจ ทัศนคติ ความคิด ฯลฯ เกี่ยวกับเด็ก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนการช่วยเหลือสนับสนุนเด็กได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย
          8. ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง เด็กควรได้รับการกระตุ้นให้คิดไตร่ตรองเพื่อประเมินความก้าวหน้าของตนเอง การที่เด็กมีส่วนร่วมในการติดตามความก้าวหน้าของตนเอง จะช่วยให้เด็กภูมิใจ และเกิดความต้องการที่จะพัฒนาตนเองต่อไป โดยครูอาจนำแฟ้มสะสมงานของเด็กมาใช้ในการให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง

สรุปวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจากโทรทัศน์ครู

จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย  
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ "เสียงมาจากไหน"

เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลาง พลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหู และส่งสัญญาณไปยังสมอง ทาให้เกิดได้ยินเสียง แหล่งกำเนิดเสียงที่สั่นด้วยความถี่ต่ำจะทำให้เกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม แต่ถ้าแหล่งกำเนิดเสียง สั่นด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูงหรือเสียงแหลม มนุษย์จะได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20 – 20,000 เฮิรตซ์ เสียงดนตรีมีระดับเสียงสูงต่าแตกต่างกัน ถ้าเสียงความถี่หนึ่ง ๆ มาถึงหูมีพลังงานมากจะทาให้ได้ยินเสียงดังมากกว่า เสียงที่มีพลังงานน้อย 
เสียง เป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่เกิดจากการสั่นจากวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงโดยอาศัยตัวกลาง ซึ่งได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และอากาศเกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูง หรือเสียงแหลม ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่า จะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมาก เสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อย จะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบล
คำถามที่ครูใช้ถามเด็ก
1.เสียงเกิดจากอะไร 
2.ตัวกลางเสียงได้แก่อะไรบ้าง 
3.เสียงสูงเสียงต่ำเกิดจากอะไร 
4.เสียงดังเสียงค่อยเกิดจากอะไร
1.ครูและนักเรียนแสดงการทดลองวิทยาศาสตร์ (science show )เรื่องเสียง.เช่นเสียงคลื่นจากเมล็ดถั่วเขียว. เสียงการสั่นของแม่เหล็ก..เสียงดนตรีจากกระป๋องน้าอัดลมเพื่อเร้าความสนใจให้กับนักเรียน จากนั้นให้นักเรียนตอบคาถามว่าเป็นเสียงอะไร ครูทดลองเสียงหลายๆแบบ จากนั้นครูเป่าแตรกระป๋องให้เกิดเสียง ให้นักเรียนซักถามแตรกรกระป๋องเกิดเสียงได้อย่างไร 
2.ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียง ว่าถ้าไม่ได้ยินเสียงจะเกิดอะไรขึ้น โดยใช้คาถาม จากคาถามสร้างพลังความคิด และคาถามประจาหน่วยการเรียนรู้ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น 
3.ครูให้นักเรียนเอามือจับลาคอแล้วให้นักเรียนพูด เกิดอะไรขึ้นที่ลาคอ จากนั้นให้นักเรียน 1 คนออกมาทดลองหน้าห้องโดยโรยเกลือลงบนแผ่นพลาสติกที่มัดให้ตึงกับตะกร้าแล้วตะโกนลงบนแผ่นพลาสติกว่าเกิดอะไรขึ้นกับเม็ดเกลือ ( เม็ดเกลือสั่น ) แล้วเกิดเสียง หรือให้นักเรียนใช้มือถูกับขอบแก้วทรงสูง จะเกิดอะไรขึ้น 
4. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียงเดินทางอย่างไร (เสียงผ่านตัวกลาง) เช่นครูพูดกับนักเรียน นักเรียนได้ยินเสียง เสียงเดินทางผ่านตัวกลางอะไร จากนั้นครูให้นักเรียน 2 คน ออกมาพูดโทรศัพท์กระป๋องโดยใช้สายโทรศัพท์เส้นเชือก เส้นเอ็น เส้นลวด แล้วฟังเสียง ที่เดินทางมายังหูได้ยินชัดหรือไม่ ครูซักถามว่าเสียงเดินทางอย่างไร ให้นักเรียนในห้องแสดงความคิดเห็น ( ถ้านักเรียนสนใจอยากทดลองนอกห้องก็ให้ทดลองนอกห้องเรียน) 
5.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มดีดสายยางรัดของที่ตึงกับตะปู เคาะส้อมเสียงแล้วฟังเสียง เกิดเสียงอย่างไร การเคาะขวดที่มีน้า และเคาะขวดที่ไม่มีน้า ครูอธิบายเพิ่มเติมการสั่นเร็วสั่นสั่นช้าของวัตถุ ว่าเกิดเสียงอย่างไร ( เกิดเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย ) 
6.ให้นักเรียนสร้างสรรค์เสียงจากกระป๋อง โดยครูอธิบายวิธีการทำแตรกระป๋อง จากนั้นให้นักเรียนทุกกลุ่มสร้างแตรกระป๋องที่นักเรียนเตรียมมา เมื่อทำแตรกระป๋องเสร็จให้ออกมาเป่าเป็นเสียงต่างๆ ให้เพื่อนจินตนาการและทายว่าเป็นเสียงอะไร ครูส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยให้ตัวแทนนักเรียนออกมาเป่าแตรกระป๋องเป็นเสียงดนตรี 
7.ครูซักถามนักเรียนประโยชน์ที่ได้จากการนำกระป๋องมาทำเป็นเสียงดนตรี ว่าให้ประโยชน์อย่างไร แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดการออกแบบโครงงานการทำโทรศัพท์กระป๋อง 
8.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับเรื่องเสียง การเกิดเสียง ตัวกลางเสียง และเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย จากนั้นให้นักเรียนไปทำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เกิดเสียง แล้วส่งในชั่วโมงต่อไป
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1.คำถามชวนคิด 2.ขวดถั่วเขียว 3.เกลือ 4 .ยางรัดของ 5.ตะปู 6.ส้อมเสียง 7.ขวดใส่น้า 
8.แก้วทรงสูง 9. อุปกรณ์การทาแตรกระป๋อง 10.โทรศัพท์กระป๋อง 11.แบบฝึกหัด 





แหล่งที่มา :  อ.เฉลิมชัยhttps://www.youtube.com/watch?v=MD0FoCA5i3I

บทความเรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
วิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย วิทยาศาสตร์ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะเน การสื่อสาร และพัฒนาการทางอารมณ์ เช่น เด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ การสนับสนุนความอยากรู้ของเด็ก กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพิ่มความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานร่วมกันเพื่อหาคำตอบจากคำถามทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัย มีความสำคัญหลายประการดังนี้
1. ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น
2. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
3. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็น
4. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
5. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฏ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
6. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป


7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ 

นางสาวชลธิชา  ป้องคำ เลขที่31

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Save No.13

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday,November 11 , 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20

กิจกรรมวันนี้
วันนี้อาจารย์นักศึกษาออกมาเสนอแผนการสอนโดยมีกลุ่มออกมานำเสนอดังนี้้้  หน่วยมด  หน่วยทุเรียน หน่วยส้ม  หน่วยสับปะรด เป็นต้น

หน่วยมด
ขั้นนำ
ครูร้องเพลงมด          
ขั้นสอน
ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับลักษณะของมด สีของมด ชนิดของมด ส่วนประกอบในร่างกายมด หัว ขา แขน ตา
ขั้นสรุป
เด็กๆ สามารถบอกความแตกต่าง ความเหมือนของมดดำและมดแดงได้





หน่วยทุเรียน
ขั้นนำ
ครูใช้คำถามๆ เด็กว่า ผลไม้อะไรเอ่ยมีหนามแหลมๆ แหวกออกมามีสีเหลืองๆ ขาวๆ กลิ่นหอมๆ บางคนก็เหม็น
ขั้นสอน
ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับลักษณะของทุเรียน ชนิดของทุเรียน และวิธีการเลือกทุเรียนพันธุ์ต่างๆ
ขั้นสรุป
ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับลักษณะของทุเรียน โดยซักถามเด็กว่าเด็กๆ อยากกินทุเรียนไหม เด็กๆ เคยกินทุเรียนอะไรบ้าง เด็กๆ บอกลักษณะของทุเรียนให้ครูฟังหน่อยได้ไหม




หน่วยส้ม
ขั้นนำ
ครูร้องเพลงส้ม บอกถึงลักษณะของส้ม และชนิดของส้ม
ขั้นสอน
ครูสาธิตเกี่ยวกับการเรียงลขโดยใช้ส้มเรียงต่อๆ กัน แล้วหยิบเลขต่อ เลข 1-9




หน่วยสับปะรด
ขั้นนำ
ครูพูดถึงลักษณะทั่วไปของสับปะรด รูปทรง สี พื้นผิว
ขั้นสอน
ครูบอกวิธีการทำน้ำสับปะรดเป็นขั้นตอน การหั่นสับปะรดเป็นชิ้นเล็กๆ การทำน้ำเชื่อม และบอกอุปกรณที่ใช้ในการน้ำสับปะรด
ขั้นสรุป
ครูซักถามเด็กว่าในการทำน้ำสับปะรดมีวิธีการทำอย่างไรบ้าง





กิจกรรมการทำไข่ทาโกยากิ
แบ่งนักศึกษาออกเป็น 5 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีหน้าทีดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1 ตัดกระดาษให้เป็นรูปวงกลมแจกเพื่อนๆ
กลุ่มที่ 2 ปูอัด แครอท
กลุ่มที่ 3 ข้าว
กลุ่มที่ 4 ตอกไข่ เจียวไข่ให้เข้ากัน
กลุ่มที่ 5 ดูแลการนำไข่ไปใส่กระทะ
อุปกรณ์การทำไข่ทาโกยากิ
1.ไข่ไก่
2. แครอท
3. ผักหัวหอม
4.ปูอัด
5.น้ำปลา แม็กกี้ ซอส
6.กรรไกร
7.มีด
8.ข้าว
9. มีด
10. ถ้วย
11.ช้อน
12. ซ่อม
วิธีการทำไข่ทาโกยากิ
1. ให้ทุกคนตอกไข่คนละ 1 ฟอง คนให้ไข่แตก ใส่ผัก น้ำปลา ปูอัด แครอท ข้าว คนให้เข้ากัน
2. นำไข่ที่ใส่ส่วนผสมเรียบร้อยแล้วไปใส่ในกระทะที่ตั้งไฟไว้
3. รอเวลาพลิกไข่ รอให้ไข่สุก
4. เมื่อไข่สุกแล้วนำไข่ไปใส่กระดาษวงกลมที่เตรียมไว้ แล้วนำไปใส่ถ้วยของกลุ่มตนเอง
5. รอให้ไข่เย็น แล้วก็รับประทาน









สรุปกิจกรรม
การทำกิจกรรมวันนี้อาจารย์ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทำไข่ทาโกยากิ 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เราสามารถนำกิจกรรมที่ทำในวันนี้ไปใช้จัดแผนการเรียนการสอนให้กับเด็กได้โดยให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียนได้
ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อยตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกมานำเสนอแผนการสอนหน้าชั้นเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมในชั้นเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมดีค่ะและมีความสนุกสนานดีมากค่ะและกลุ่มที่ออกมานำเสนอแผนการสอนออกทำได้ดีพอสมควร
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการสอนและพยายามให้นักศึกษามีส่วนร่วมอยู่เสมอในการทำกิจกรรม

Chonticha  Pongkom No.31








วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Save No.12

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday,November 4 , 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20
เนื้อหารเรียนการสอนวันนี้
วันนี้อาจารย์อธิบายการเขียนแผน  ตัวอย่างดังนี้





การจัดเรียงแผนการสอน
1.กรอบพัฒนาการ
2.สาระที่ควรเรียนรู้
3.แนวคิด
4.เนื้อหา
5.ประสบการณ์สำคัญ
6.บูรณาการรายวิชา
7.กิจกรรมหลัก
8.วัตถุประสงค์
กิจกรรมวันนี้
นำเสนอแผนการสอนโดยกลุ่มของดิฉันนำเสนอหน่วยเรื่อง  วัฏจักรของกบ





กลุ่มของเพื่อนๆที่ออกมานำเสนอแผนการสอนวันนี้

หน่วยข้าว


หน่วยไข่




หน่วยกล้วย



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     การวางแผนในการสอนเด็กเพื่อไปพัฒนาการทั้ง4ด้านข งเด็กให้เหมาะสมตามวัยให้ถูกต้อง
ประเมินตนเอง
          มีความรับผิดชอบ แต่งกายเรียบร้อยตั้งใจฟังคำแนะนำต่างๆของอาจารย์และดิฉันมีความเตรียมความพร้อมที่จะออกมานำเสนอแผนการสอนค่ะ
ประเมินเพื่อนๆ
        เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังคำแนะนำของจารย์ แต่งกายเรียบร้อยและช่วยกันออกมานำเสนอแผนการสอนได้ดีมากค่ะ
ประเมินอาจารย์
        อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยพร้อมให้คำแนะนำในการเขียนแผนได้ดีมากค่ะ

Chonticha  Pongkom  No.31









วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Save No.11

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday, October 28, 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20


เนื้อหาการเรียนการสอนวันนี้
กิจกรรมในชั้นเรียน
วันนี้อาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาได้ทามการทดลองทางวิทยาศาสตร์ 
อุปกรณ์ มีดังนี้ค่ะ





กิจกรรมในชั้นเรียน
กิจกรรมที่1
อาจารย์ได้นำอุปกรณ์ที่อาจารย์ที่เตรียมมาจากนั้นอาจารย์ได้ทำการทดลอง ดังนี้  อาจารย์นำเทียนมาจุดไฟแล้วจากนั้นนำแก้วมาครอบที่เทียน
ผลการทดลอง 
เราจะเห็นได้ว่าเมื่อเรานำแก้วมาครอบลงที่เทียนที่กำลังจุดไฟอยู่เทียนนั้นจะค่อยๆดับไป  
กิจกรรมที่2
อาจารย์ให้นักศึกษานำกระดาษA4มาฉียแบ่งออกเป็น4ส่วน  จากนั้นให้นักศึกษาพับแล้วก็ฉีกออกเป็นรูปทรงคล้ายๆกับดอกไม้  จากนั้นก็พับกลีบทุกกลีบเข้าหากัน  จะเป็นดังนี้ค่ะ




การทดลองมีดังนี้ค่ะ





ผลการทดลอง
เราจะเห็นได้ว่ากระดาษที่พับเหมือนกลีบดอกไม้เมื่อเรานำลงไปลอยในน้ำกระดาษนั้นจะค่อยๆบานออกมาเรื่อยๆ
กิจกรรมที่3
อาจารยืได้นำดินน้ำมันมาให้นักศึกษานวดให้นิ่มก่อนจากนั้นให้นักศึกษาจากนั้นให้นำดินน้ำมันที่ปั้นเป็นก้อนไปใส่ลงในน้ำ  ดังนี้






ผลการทดลอง
เราจะเห็นได้ว่าดินน้ำมันจะจมลงน้ำทันทีเมื่อเราทิ้งลงดินน้ำมันลงน้ำ
กิจกรรมที่4
อาจรยืให้นำดินน้ำมันมาปั้นเปลี่ยนจากรูปทรงอันที่ปั้นจากกิจกรรมที่3  มาปั้นให้แบนแล้วจากนั้นก็นำไปลอยน้ำเหมือนเดิม  ดังนี้ค่ะ



ผลการทดลอง
เราจะเห้นได้ว่าแต่ละคนจะมีการปั้นดินน้ำมันที่ลักษณะที่แตกต่างกัน  ถ้าเราปั้นดินน้ำมันให้แบนๆจะเห็นได้ว่าดินน้ำมันจะจมลงเร็วกว่าดินน้ำมันที่ปั้นแบนๆแล้วมีขอบด้านข้างและถ้ายิ่งวางลูกแร้วดินน้ำมันก็จะยิ่งจมลงเร็วกว่าเดิม
     การที่ดินน้ำมันจะลอยน้ำน้ำได้ดีขึ้นอยู่กับการปั้นขอบของดินน้ำมันว่าจะสูงมากแค่ไหน  ถ้ามีการปั้นขอบด้านข้างที่สูงมากเท่าไหล่ดินน้ำมันก็จะสามารถรับน้ำหนักของลูกแก้วได้และยังสามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้นานอีกด้วย   กิจกรรมนี้สื่อให้เห็นว่ามีใช้หลักการเดียวกับการสร้างเรือ
กิจกรรมที่5
อาจารย์ได้นำปากกามาลอยน้ำในแก้วน้ำให้นักศึกษาได้ดู  ดังนี้



ผลที่เกิดขึ้น คือ
-เราจะมองเห็นได้ว่าปากกาจะมีลักษณะที่ใหญ่ขึ้น
-สังเกตได้ปากกามีลักษณะเหมือนกับว่าปากกาหักอยู่
     การทดลองนี้เกิดขึ้นเพราะการหักเหของแสงและวัตถุ
เนื้อหาการเขียนแผน
-วัตถุประสงค์
-แนวคิด
-กรอบพัฒนาการ
-บูรณาการทักษะรายวิชา
-6กิจกรรมหลัก
-ขั้นตอนการเขียนแผนตามลำดับของเนื้อหาแต่ละวัน   เช่น  1.ชนิด 2.ลักษณะ 3.การเลี้ยงดู 4.วัฏจักร 5.ประโยชน์
-วิธีการตั้งคำถามปลายเปิด
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำวิธีในการทดลองวิทยาศาสตร์ในวันนี้เราสามารถนำไปสอนได้จริงให้กับเด็กปฐมวัยได้
เทคนิคการสอน
วันนี้อาจารย์โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม คือให้นักศึกษได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม และใช้สื่อประกอบการปฏิบัติกิจกรรม เช่น การทดลอง  การลองทำ  เป็นต้น
การประเมิน (Assessment)
ประเมินตนเอง
-การแต่งกาย  วันนี้แต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ
-เวลาเข้าเรียน  วันนี้มาเรียนตรงเวลาไม่เข้าเรียนสาย
-การเรียน  วันนี้พยายามตั้งใจเรียนเต็มที่ค่ะและพยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่อาจารย์สอนมากที่สุดและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ทำในวันนี้ค่ะ
ประเมินเพื่อน
-การแต่งกาย  วันนี้ส่วนมากแต่งกายเรียบร้อยค่ะแต่อาจมีบางคนที่ไม่ใส่ชุดพละ
-เวลาเข้าเรียน ส่วนมากจะมารอเรียนพร้อมกันทุกคนค่ะแต่อาจจะมีบางคนที่เข้าเรียนช้าค่ะ
-การเรียน  ส่วนใหญ่วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีค่ะแต่อาจจะมีส่งเสียงดังบ้างค่ะและวันนี้เพื่อนๆทุกคนก็ตั้งใจทำผลงานที่อาจารย์มอบหมายให้ค่ะ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-การแต่งกาย   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะกับบุคลิกภาพค่ะ
-เวลาเข้าสอน  วันอาจารย์มาตรงต่อเวลาค่ะ
-การจัดการเรียนการสอน วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมใหม่มาให้นักศึกษาได้ทำคือการทดลองทางวิทยาศาสตร์  เป็นกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อและอาจารย์เองก็สอนและอธิบายในการทำกิจกรรมได้อย่างเข้าใจได้ง่ายมากค่ะ

Chonticha  Pongkom No. 31






วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Save No.10

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday, October 21, 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20
กิจกรรมในชั้นเรียน
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้ออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ออกมานำเสนอค่ะ
จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาจัดโต๊ะแล้วนั่งกันเป็นกลุ่ม  แล้วช่วยกันและปรึกษากันในการเขียนแผน  จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายขั้นตอนในการเขียนแผนต่างๆ เช่น วัตถุประสงค์ แนวคิด  แผนที่ใยแมงมุม ประสบการณ์สำคัญ  การบูรณาการ เป็นต้น
กลุ่มของดิฉันจะสอนเรื่อง กบ (Frog)  โดยกลุ่มของดิฉันได้แบ่งการเขียนเป็น5วันดังนี้
1.ชนิดของกบ
2.ลักษณะของกบ
3.ประโยชน์ของกบ
4.การเลี้ยงดูกบ
5.วงชีวิตของกบ




Chonticha  Pongkom  No.31

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Save No.9

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday, October 14, 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20
Activities
อาจารย์นักศึกษานั่งตามเลขที่เหมือนเดิมจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ตามเลขที่  และเวลานักศึกษาออกมานำเสนอผลงานของตนเองอาจารย์ก็มักจะมีคำแนะนำเพิ่มเติมในกับนักศึกษาอยู่เสมอเพื่อให้ของเล่นที่นักศึกษาที่มามันจะได้สมบูรณ์มากกว่าเดิมค่ะ
ผลงานของเล่นวิทยาศาสตร์ของดิฉันมีชื่อว่า  ปืนลูกโป่ง
อุปกรณ์
1.แกนกระดาษชำระ
2.ลูกโป่ง
3.กรรไกร
4.กาว
5.กระดาษสี
6.ลูกปิงปอง หรือเหรียญที่สามารถใช้เป็นลูกกระสุนของปืนก็ได้ค่ะ
วิธีทำ
1.นำลูกมาตัดแล้วสวมเข้ากับแกนกระดาษชำระให้พอดี
2.จากนั้นติดกาวแน่นหนาพอที่เวลาเราดึงลูกโป่งจะไม่หลุดออกมา
3.ตกแต่งแกนกระดาษชำระให้สวยงาม




วิธีเล่น
นำลูกปิงปองใส่ลงไปในแกนกระดาษชำระ จากนั้นใช้มือดึงปลายลูกโป่งแล้วปล่อยมือ  จากนั้นลูกปิงปองก็จะพุ่งออกไป ดิฉันได้มีการสาธิตในการเล่นดังนี้ค่ะ




หลักการทางวิทยาศาสตร์
ลูกโ่ป่งเป็นวัตถุที่มีความยืดหยุ่นเมื่อถูกดึงให้ยืดออกไปจากนั้นจะเกิดการสะสมที่เรียกว่าพลังงานศักย์ยืดหยุ่น และเมื่อเราปล่อยมือพลังงานศักย์จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์  พลังงานจลน์ก็คือพลังที่วัตถุเคลื่อน  ดังนั้นถ้าเราออกแรงดึงลูกโป่งมากก็จะทำให้เกิดความเร็วกับลูกปิงปองมากขึ้น
ผลงานของเล่นวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ







เพิ่มเติม
วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนการเขียนหน่วยการเรียนรู้และงานเขียนแผนกลุ่ม  และได้สั่งการบ้านการเข้ามุมวิทยาศาสตร์ โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างได้ดูเช่น เรื่องมะพร้าว ในมุมวิทยาศาสตร์อาจจะมีการนำกะลามะพร้าวมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ เช่น นาฬิกาทราย เป็นต้น 
สรุปและการนำไปประยุกต์ใช้
 เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์  เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้นกับของเล่น  มีผลอย่างไร  แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น  ซึ่งการเล่นของเล่นวิทยาศาสตร์  ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา  สัมผัสกับมือ  เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น  การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร  หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย
เทคนิคการสอน
อาจารย์มีการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนและเปิดกว้างให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่างๆ 
การประเมิน(Assessment)
ประเมินตนเอง
-เข้าเรียนตรงเวลา
-เเสดงข้อคิดเห็นจากบทเรียนเเละเนื้อหาที่เรียน
-เเต่งกายเรียบร้อยด้วยชุดนักศึกษา
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนร่วมกันช่วยเเชร์ประสบการณ์ที่เคยสัมผัสอาการบกพร่องในเเต่ละด้าน
-ส่วนใหญ่เเต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา
-อาจารย์อธิบายในการนำเสนอสื่อของนักศึกษาและได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมได้อย่างเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น


Chonticha  Pongkom No.31