My Melody Crying

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

Save No. 7

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday, September 30, 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20
Activities
1.วันนี้อาจารย์ให้จัดที่นั่งโดยให้นักศึกษานั่งตามเลขที่ เพื่อที่จะได้เช็คชื่อง่าย
2.อาจารย์ทำกิจกรรมในห้องเรียนคือ ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์  ขั้นตอนทำดังนี้ค่ะ
-อาจารย์แจกกระดาษให้คนล่ะ 1แผ่น จากนั้นก็พับครึ่ง
-แล้วก็ตัดให้เป็นเหมือนปลีก  แล้วก็พับปลายขึ้น
-แล้วนำคลิบที่หนีบกระดาษมาหนีบไว้



3.จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์โดยจะเล่นแบบไหนก็ได้ ดังนี้ค่ะ


ผลจากการของเล่นวิทยาศาสตร์ ดังนี้ค่ะ
-ของเล่นของเพื่อนบางมีการหมุนที่แตกต่างกันแต่บางคนไม่หมุนเลยค่ะ
-ตรงปลีกตรงของเล่นวิทยาศาสตร์ไม่มีแรงต้านลมพอ
-ของเล่นวิทยาศาสตร์ตกลงพื้นไม่เหมือนกัน  
-มีการทำที่แตกต่างกัน เช่น ตรงปีก เป็นต้น
4.กิจกรรมระดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกรนกระดาษชำระ
-ตัดแกรนกระดาษชำระออกเป็นเศษ1ส่วน2
-จากนั้นนำตุ๊ตตู๋มาเจาะรูที่แกรนกระดาษ
-นำเชือกไหมพรมมาห้อยลงรูที่เราเจาะไว้
-วาดรูปลงกระดาษที่เตรียมไว้แล้วระบายสีให้สวยงามแล้วนำมาแปะที่แกรนกระดาษชำระให้สวยงาม
ตัวอย่างผลงานค่ะ






5.อาจารย์ถามนักศึกษาว่า อากาศและลมแตกต่างกันอย่างไร
-อากาศ คือ อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง หรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่าน เราจะรู้สึกว่ามีอากาศหรือลมพัดมาถูกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำ หรือหมุนกังหันลมได้
-ลม คือ กระแสอากาศที่เคลื่อนที่ในแนวนอน
6.นำเสนอบทความ
-สะกิดให้ลูกคิดแบบวิทยาศาสตร์   ครอบครัวไทยมีวัฒนธรรมการเรียนนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือเด็กต้องเชื่อฟังสิ่งที่ผู้ใหญืสอน และห้ามเถียง ซึ่งมีผลต่อการฝึกคิดแบบวิทยาศาสตร์และมักเป็นเกราะกำบังให้เด็กหยุดสงสัย  อยากรู้หรือมองข้ามในสิ่งตนเองค้นพบหากสิ่งนั้นแตกออกไปจากคำสอนหรือมีบอกไว้ในหนังสือ  ดังนั้นการฝึกลูกเก่งคิดแบบวิทยาศาสตร์จะต้องปรับวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในครอบครัวด้วย
-เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์   โดยยอมรับความคิดเห็นของเด็ก ๆ ฝึกให้เด็กเก็บบันทึกข้อมูล
1. เวลาสอน ผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้แนะนำ เป็นผู้อำนวยความสะอวก แต่ไม่ใช่ผู้บอก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเป็นผู้คอยกระตุ้นให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเอง 
2. ไม่ควรเคร่งเครียดกับการเรียนมากเกินไป เช่น ไม่ควรให้เด็กรู้สึกว่าเรียนแล้วห้ามหัวเราะ ห้ามขยับ เดี๋ยวจะไม่ถึงเป้าหมายในการเรียน แต่ควรจะยั่วยุให้เด็กเกิดความสนใจอยากรู้อยากเห็น 
3. ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุก 
4. ให้ยืดหยุ่นได้ อย่ายัดเยียดความรู้สึกกับเด็ก ควรให้ทีละอย่าง 
5. จัดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ใช้ประสาทสัมผัส เช่น ให้ชิมน้ำมะนาว เด็กจะได้รู้ว่ารสเปรี้ยวเป็นอย่างไร
6. อย่ารีบบอกคำตอบแก่เด็กทันที 
7. กิจกรรมบางอย่างสามารถจัดซ้ำ ๆ ได้ ยังเป็นที่สนใจของเด็ก 
8. ถามคำถามที่กระตุ้นให้เด็กเกิดคุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์ เช่น เป็นคนมีเหตุผล รู้จักคิด สังเกต รวมทั้งให้เด็กรู้จักนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในโอกาสต่าง ๆ

-สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชาจากเด็กปฐมวัย จากไก่และเป็ด     เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้ประสบการณ์สาคัญที่เด็กๆ ได้รับจากกิจกรรมนี้ คือ การแสดงความรู้สึกด้วยคาพูด การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง การสารวจและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของไก่และเป็ด การเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของไก่และเป็ด เป็นต้น
-หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่   เพราะเด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบด้วยตนเองและธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กตลอดเวลา
-ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก  พ่อแม่ต้องจำเป็นต้องกระตุ้นพัฒนาการของลูกเพื่อช่วยให้ลูกได้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพของตน ทั้งนี้เนื่องจากสมองของเด็กแรกเกิดที่เป็นเด็กปกติทุกคนเกิดมาพร้อมด้วยความสามารถที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำวิธีในการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ในวันนี้เราสามารถนำไปสอนในวิชาความคิดสร้างสรรหรือวิชาศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยได้
เทคนิคการสอน
วันนี้อาจารย์โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม คือให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม และใช้สื่อประกอบการปฏิบัติกิจกรรม เช่น  ของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกรนกระดาษชำระ  เป็นต้น และมีการใช้คำถามปลายเปิดกับนักศึกษา  โดยคำตอบของนักษาที่ตอบส่วนมากจะไม่มีผิดไม่มีถูกแต่อาจารย์จะช่วยเสริมเนื้อที่นักศึกษาตอบค่ะเพื่อในนักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
การประเมิน (Assessment)
ประเมินตนเอง
-การแต่งกาย  วันนี้แต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ
-เวลาเข้าเรียน  วันนี้มาเรียนตรงเวลาไม่เข้าเรียนสาย
-การเรียน  วันนี้พยายามตั้งใจเรียนเต็มที่ค่ะและพยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่อาจารย์สอนมากที่สุดและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ทำในวันนี้ค่ะ
ประเมินเพื่อน
-การแต่งกาย  วันนี้ส่วนมากแต่งกายเรียบร้อยค่ะแต่อาจมีบางคนที่ไม่ใส่ชุดพละ
-เวลาเข้าเรียน ส่วนมากจะมารอเรียนพร้อมกันทุกคนค่ะแต่อาจจะมีบางคนที่เข้าเรียนช้าค่ะ
-การเรียน  ส่วนใหญ่วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีค่ะแต่อาจจะมีส่งเสียงดังบ้างค่ะและวันนี้เพื่อนๆทุกคนก็ตั้งใจทำผลงานที่อาจารย์มอบหมายให้ค่ะ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-การแต่งกาย   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะกับบุคลิกภาพค่ะ
-เวลาเข้าสอน  วันอาจารย์มาตรงต่อเวลาค่ะ
-การจัดการเรียนการสอน วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมใหม่มาให้นักศึกษาได้ทำ เช่น ทำของเล่นจากแกรนกระดาษชำระ และมีการอธิบายผลงานของนักศึกษาที่ทำมาค่ะ  และมีการยกตัวอย่างเรื่องของลม และอากาศค่ะ

Chonticha  Pongkom No. 31
















วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

Save No.6

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday, September 23, 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20
Activities
1.อาจารย์เริ่มอธิบายเกณฑ์การให้คะแนน Blogger
2.อาจารย์พูดและอธิบายเรื่องความรับผิดชอบในการทึกอนุทินใน Blogger และความรับผิดชอบในการไปช่วยอาจารย์ถือของค่ะ
3.อาจารย์ถามนักนักศึกว่าคำว่า Constructionism คืออะไร ดิฉันได้สรุปเป็น Mind Map ดังนี้ค่ะ 




4.อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมในห้องเรียน  โดยอาจารย์แจกกระดาษที่ภาพมาให้นักษาโดยภาพในกระดาษนั้นมีรูป ผีเสื้อกับ ดอกไม้ จากนั้นนักษาก็ตัดให้เป็นรูป หลังจากนั้น  อาจารย์ก็แจกกระดาษเศษแล้วนักศึกษากิจกรรมดังต่อไปนี้ค่ะ
4.1.พับครึ่งกระดาษให้เท่ากัน
4.2.วาดภาพที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ เช่น แจกันกับดอกไม้  ถนนกับรถ  แม่กุญแจกับลูกกุญแจ เป็นต้น
4.3.ระบายสีหรือตกแต่งให้สวยงาม
4.4.ขั้นตอนสุดท้าย เอาไม้เสียบลูกชิ้นมาแปะกับกระดาษด้านในโดยเอาสก็อตเทปติดให้แน้นและติดตรงกลางของกระดาษ




5.อาจารย์ให้ลองหมุนผลงานของตัวแล้วบอกว่ามันเกิดอะไรขิึ้น  ผลจากการที่ดิฉันหมุนผลงานของดิฉันเป็นดังนี้ค่ะ



-ทำเกิดการซ้อนของภาพและทำให้เราเห็นเหมือนลูกกุญแจกำลังเสียบอยู่ในแม่กุญแจ
6.อาจารย์มีสื่อมาให้นักศึกษาได้ดู คือกล้องที่ทำจากแกนกระดาษชำระที่ส่องออกมาแล้วทำให้เกิดแสงเป็นสีต่างๆ



7.อาจารย์ให้กลุ่มแต่ละกลุ่มออกมาติด Mind Map หน้าห้อง หัวข้อMind Map มีดังนี้
-ทุเรียน
-กบ
-ไข่
-สับปะรด
-มดตัวนิด
-ดิน
-ส้ม
-กล้วย
8.การนำเสนอบทความ
-เรียนวิทย์ผ่านนิทาน  นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป  แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลายที่เห็นชัดเจนคือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆเด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
 นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์มีวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่างๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล 
-เรียนวิทย์เรื่องพืช  การสอนเรื่องพืชมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยเป็นอย่างเพราะการเรียนรู้เรื่องพืชสามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
-แนวทางการสอนเติมวิทยืให้เด็กอนุบาล  ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ๆ แต่อย่างใดไม่เพียงแต่คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดี ๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็ก ๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ
-การทดลองวิทย์ยาศาสตร์สนุกๆกับคุณหนู    วัยเด็กเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น และเป็นวัยที่กำลังมีการพัฒนาทางปัญญาเพราะการทดลองทางวิทยาศาสตร์จะช่วยส่งเสริมด้านความคิดของพวกเขาและกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กสามารถเรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการวัดที่มาพร้อมกับทักษะการคำนวณ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ยังสามารถช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว
ความรู้เพิ่มเติม
-บิดาแห่งการศึกษาปฐมวัยปฐมวัย   ดิฉันได้สรุปออกมาเป็น Mind Map ดังนี้ค่ะ



-ใครคือผู้ที่เปรียบเด็กเสมือนผ้าขาว  ฌองฌา ครุสโซ มีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญ เด็กควรจะเรียนรู้ตามธรรมชาติคือ การเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือ หรือจากคำพูดบรรยาย  
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์พานักศึกษาไปสอนเด็กปฐมวัยทำหรือนำไปเชื่อมกับวิชาศิลปะได้  และสามารถส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กเวลาเด็กได้ประดิษฐ์หรือคิดสื่อวิทยาศษสตร์
เทคนิคการสอน
อาจารย์สอนแบบให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนด้วย เวลาสอนอาจารย์มักจะถามนักศึกษาตลอดเวลา และอาจารย์มีการจัดการเรียนสอนที่เป็นกันเองมากค่ะไม่กดดันนักศึกษาและทำให้นักศึกษาไม่เบื่อเวลาเรียน
การประเมิน(Assessment)
ประเมินตนเอง
-การแต่งกาย  วันนี้แต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ
-เวลาเข้าเรียน  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาไม่สาย
-การเรียน  วันนี้ดิฉันตั้งใจฟังทั้งอาจารย์และบทความของเพื่อนๆ ค่ะ และตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์หมายให้ในวันนี้
ประเมินเพื่อน
-การแต่งกาย  วันนี้เพื่อนๆทุกแต่งการเรียบร้อยใส่ชุดพละเหมือนไม่มีใครที่แต่งกายแตกต่าง
-เวลาเข้าเรียน ส่วนใหญ่วันนี้เพื่อนเข้าเรียนกันไม่สายค่ะ
-การเรียน   วันนี้ส่วนใหญ่เพื่อนๆจะตั้งใจเรียนมากและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้ส่วนเพื่อนออกมานำเสนอบทความก็ทำได้ดีเพราะเพื่อนมีการสรุปเนื้อหามาแล้วทำให้เพื่อนคนอื่นๆสามารถเข้าใจเนื้อหาของบทความได้ง่ายขึ้น
ประเมินอาจารย์
-การแต่งกาย   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะกับบุคลิกภาพค่ะ
-เวลาเข้าสอน  วันอาจารย์มาตรงต่อเวลาค่ะ
-การจัดการเรียนการสอน    วันนี้อาจารย์มีการนำเสนอสื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาได้และได้อธิบายประโยชน์ของสื่อและประโยชน์ของการทำสื่อด้วยตนเอง  และอาจารย์ก็ยังอธิบาย Mind Map ของนักศึกเพื่อให้นักศึกษาเข้าในเนื้อที่ทำมามากขึ้นค่ะ


Chonticha  Pongkom  No.31





วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

Save No.5

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday, September 16, 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20
Activities Today
กิจกรรมเพลงวิทยาศาสตร์
อาจารย์ได้เปิดเพลงวิทยาศาสตร์ ให้นักศึกษาฟัง  และถามนักศึกษา เพลงมีประโยชน์อย่างไร  เพลงนี้เค้าพูดอะไรที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


เรื่องมารยาท
วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องของมารยาทและกาละเทศะ  เช่น เวลาอาจารย์หรือทำกิจกรรมอยู่นักศึกษาจะชอบคุยกันและพอเวลาอาจารย์ถามนักศึกษาก็ตอบไม่ได้
นำเสนอบทความ
-สอนลูกเรื่องบทความทางธรรมชาติมีความสำคัญอย่างไร
-วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมในชั้นเรียน
เนื่องจากอาจารย์ติดธุรระสำอาจารย์เลยสั่งงานนักศึกษา  ให้ดู VDOเรื่องความลับของแสง แล้ววิเคราะห์ว่าได้อะไรจากการดู  ดิฉันสรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้ค่ะ



การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำเพลงที่อาจารย์เปิดให้ฟังในวันนี้ไปประยุกต์ใช้กับวิชาต่างๆได้ เช่น การเคลื่อนไหวและจังหวะ  เป็นต้น
-เพลงสามารถนำไปส่งเสริมพัฒนาการของเด้็กพิเศษได้
เทคนิคการสอน
อาจารย์สอนแบบให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนด้วย เวลาสอนอาจารย์มักจะถามนักศึกษาตลอดเวลาแต่ถ้านักศึกษาตอบไม่ได้หรือตอบอาจารย์ก็จะอธิบายให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ  และอาจารย์ก็สอนไม่ซีเรียดเกินไปเวลาเรียนก็เลยทำให้สนุกกับการเรียนค่ะ
การประเมิน(Assessment)
ประเมินตนเอง
-การแต่งกาย  วันนี้แต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ
-เวลาเข้าเรียน  วันนี้มาเรียนตรงเวลาไม่เข้าเรียนสาย
-การเรียน  วันนี้ตั้งใจฟังเนื้อที่อาจารย์สอนและตั้งใจทำงานกลุ่มที่อาจารย์มอบให้ค่ะ
ประเมินเพื่อน
-การแต่งกาย  วันนี้ส่วนมากแต่งกายเรียบร้อยค่ะ
-เวลาเข้าเรียน ส่วนมากจะมารอเรียนพร้อมกันทุกคนค่ะแต่อาจจะมีบางคนที่เข้าเรียนช้าค่ะ
-การเรียน  วันนี้เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือดีค่ะทั้งงานกลุ่มและการเรียนเวลาอาจารย์เพื่อนๆก็จะช่วยกันตอบและแสดงความคิดเห็นแต่วันนี้เพื่อนๆจะคุยกันในเวลามากเกินไปบางครั้งเลยทำให้ความวุ่นวายบ้างเล็กน้อยค่ะ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-การแต่งกาย   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะกับบุคลิกภาพค่ะ
-เวลาเข้าสอน  วันอาจารย์มาตรงต่อเวลาค่ะ
-การจัดการเรียนการสอน อาจารย์มีการนำเสนอเพลงที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ทำให้นักศึกษาเข้าใจประโยชน์และความสำคัญของมากขึ้นค่ะ

Chonticha  Pongkom  No.31

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

Save No.4

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday, September 9, 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20
Activities Today
-วันนี้อาจารย์เริ่มเปิด Blogger แล้วให้เห็นความเคลื่อนไหวของ  Blogger ตัวเองและอธิบายการเขียนบันทึกอนุทินที่ถูกต้องค่ะและอาจารย์อยากให้นักศึกษาพยายามใช้ภาษาอังกฤษในการเขียน Blogger ค่ะ
-จากนั้นอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆ ออกมานำเสนอบทความอาทิตย์ล่ะ 5 คน
-วันนี้อาจารย์ได้เข้าสู้เนื้อหา เรื่องทักษะทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
ดิฉันได้สรุปความรู้ที่เรียนในวันนี้เป็น Mind Map ดังนี้ค่ะ
     


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำทักษะทางวิทยาศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาและสามารถนำไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆได้  เช่นสามารถนำไปใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เช่นเรื่องของปริมาตร การวัด การคำนวน เป็นต้น  และยังส่งเสริมพัฒนาการทั้ง4ด้านของเด็ก
เทคนิคการสอน
อาจารย์สอนโดยใช้คำถามปลายเปิดและให้นักศึกษามีส่วนในการเรียนการสอน เช่น  เวลาเพื่อนอ่านบทความ อาจารย์ก็จะถามประมาณว่าบทความที่เพื่อนอ่านเกี่ยวข้องกับวิชาอย่างไรแล้วประโยคตรงไหนคือใจความสำคัญบอกว่าบทความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์   และอาจารย์จะพยายามอธิบายในสิ่งที่นักศึกษาตอบไม่ได้ให้นักศึกษาเข้าใจ
การประเมิน(Assessment)
ประเมินตนเอง
-การแต่งกาย=แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบตามข้อตกลงค่ะ
-การเข้าเรียน=วันนี้มาเรียนตรงเวลาค่ะไม่สาย
-การเรียน=วันนี้ตั้งใจจดความรู้และบทความที่เพื่อนๆนำเสนอ
ประเมินเพื่อน
-การแต่งกาย=วันนี้เพื่อนๆทุกคนแต่งกายเรียบร้อย
-การเข้าเรียน=วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ไม่ค่อยมาสาย
-การเรียน=วันนี้เพื่อนเตรียมบทความมานำเสนอได้ดีมากและเพื่อนๆตั้งใจฟังเนื้อหาที่อาจารย์บรรรยายและบทความที่เพื่อนอ่านค่ะ
ประเมินอาจารย์
-การแต่งกาย=อาจารย์แต่งสุภาพเรียบร้อยเหมาะกับบุคลิกภาพและเป็นตัวที่ดีค่ะ
-การเข้าสอน=วันนี้อาจารย์มาสอนได้ตรงเวลาไม่สายค่ะ
-การเรียนการสอน=วันนี้อาจารย์อธิบายและขยายความของบทความของเพื่อนๆที่นำเสนอในวันนี้และเนื้อหาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทำให้เข้าใจในเนื้อมากขึ้นและเข้าใจได้ง่ายค่ะ

Chonticha Pongkom  No.31







วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 2 กันยายน 2557
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 103
เวลาเรียน 08.30-12.20 น
กิจกรรมวันนี้
1.นำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน  เรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลอง  เรื่องกิจกรรมตามหาใบไม้  แยกเมล็ดพืช  เจ้าลูกโป่ง
2.เรียนบรรยายโดยอาจารย์นำเสนอโดย Powwer Point  ดังนี้
คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปีที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546


ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย




หลักการและแนวคิดสู่การปฎิบัติการพัฒนาเด็ก
นักการศึกษา/หลักการ แนวคิด
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
กีเซล
          พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรม ชาติ ไม่ควรเร่งหรือบังคับ
        -  ไม่เร่งสอนสิ่งที่ยากเกินพัฒนาการตามวัยของเด็ก
        - จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสเคลื่อนไหว
        - จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูด ท่องคำคล้องจองร้องเพลง ฟังนิทาน
เพียเจย์
          การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะพัฒนาการไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้นพัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ
        - ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา 
        - เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
สกินเนอร์
          อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ   คือ การเสริมแรง  หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ
        - ครูควรให้การเสริมแรง โดยการชมเชยหรือให้แรงจูงใจ โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้รางวัล
เปสตาลอสซี่
          มุ่งเน้นความคิดของการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ ความคิดในเรื่องการเตรียมความพร้อม และเห็นว่าเด็กไม่ควร ถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ แต่ต้องให้เวลาและประสบการณ์แก่เด็กในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตนเอง
        - การสอนครูต้องเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อน แล้วจึงเพิ่มความยากขึ้นไป
        - ต้องทำให้นักเรียนรู้สึกว่าโรงเรียนไม่ต่างไปจากที่บ้าน
        - ต้องยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
เฟรอเบล
          เด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียน 
        - ครูต้องมีแผนการสอน
        - สอนระเบียบเมื่อเด็กเล่นเสร็จ
        - บรรยากาศในการเรียนเน้นความเป็นธรรมชาติ
เอลไคน์
          การเร่งให้เด็กเรียนเป็นอันตรายยิ่งนัก
        - การจัดการเรียนผ่านการเล่น  โดยให้เด็กเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
ดิวอี้
          การเรียนรู้จากการกระทำที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางจากการทำจริงในทุกกสถานการณ์จริง
        - ครูจัดเตรียมประสบการณ์ สภาพแวดล้อมให้กับเด็กเพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ หรือมีประสบการณ์ด้วยตนเอง

กิจกรรมในห้องเรียน
อาจารย์ให้สรุปความรู้ที่เรียนในวันนี้โดยเขียนเป็น Mind Map นี่คือผลงานในห้องเรียนค่ะ
















การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำทักษะทางวิทยาศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาและสามารถนำไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆได้  เช่นสามารถนำไปใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เช่นเรื่องของปริมาตร การวัด การคำนวน เป็นต้น  และยังส่งเสริมพัฒนาการทั้ง4ด้านของเด็กโดยการมีส่วนในการทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ
ประเมินตนเอง
-การแต่งกาย วันนี้แต่งกายถูกต้องตามรับระเบียบและถูกต้อง
-การเข้าเรียน วันนี้มาเรียนตางเวลาค่ะแต่อาจจะมีเพื่อนๆบางที่ขาดเรียนหรืออาจจะมาช้านิดนึง
-การเรียน  วันนี้ตั้งใจเรียนมากค่ะสามารถจดรายละเอียดที่อาจารย์บรรยายในวันนี้มาได้เยอะพอสมควรและก้อสามารถเข้าใจในเนื้อหาได้อย่างละเอียดค่ะ
ประเมินอาจารย์
-การแต่งกาย  อาจารย์แต่งกายได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามวัยค่ะ
-เวลาการเข้าสอน  วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาค่ะ
-การเรียนการสอน   วันนี้อาจารย์สอนแบบบรรยาย เนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอนในวันนี้ละเอียดมากค่ะและสามารถอธิบายทฤษฎีต่างๆให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายมากค่ะ  และการสอนแบบที่อาจารย์สอนและอธิบายในวันนี้อาจารย์จะสอนแบบคำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถามมากขึ้น

นางสาวชลธิชา  ป้องคำ  เลขที่ 31
    

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

บทความเรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
วิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย วิทยาศาสตร์ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะเน การสื่อสาร และพัฒนาการทางอารมณ์ เช่น เด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ การสนับสนุนความอยากรู้ของเด็ก กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพิ่มความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานร่วมกันเพื่อหาคำตอบจากคำถามทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัย มีความสำคัญหลายประการดังนี้
1. ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น
2. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
3. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็น
       4. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
5. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฏ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
6. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ 
ข้อมูลจาก=ศูนย์การเรียนรู้ปฐมวัย

นางสาวชลธิชา  ป้องคำ เลขที่31