My Melody Crying

วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

Save No.6

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday, September 23, 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20
Activities
1.อาจารย์เริ่มอธิบายเกณฑ์การให้คะแนน Blogger
2.อาจารย์พูดและอธิบายเรื่องความรับผิดชอบในการทึกอนุทินใน Blogger และความรับผิดชอบในการไปช่วยอาจารย์ถือของค่ะ
3.อาจารย์ถามนักนักศึกว่าคำว่า Constructionism คืออะไร ดิฉันได้สรุปเป็น Mind Map ดังนี้ค่ะ 




4.อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมในห้องเรียน  โดยอาจารย์แจกกระดาษที่ภาพมาให้นักษาโดยภาพในกระดาษนั้นมีรูป ผีเสื้อกับ ดอกไม้ จากนั้นนักษาก็ตัดให้เป็นรูป หลังจากนั้น  อาจารย์ก็แจกกระดาษเศษแล้วนักศึกษากิจกรรมดังต่อไปนี้ค่ะ
4.1.พับครึ่งกระดาษให้เท่ากัน
4.2.วาดภาพที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ เช่น แจกันกับดอกไม้  ถนนกับรถ  แม่กุญแจกับลูกกุญแจ เป็นต้น
4.3.ระบายสีหรือตกแต่งให้สวยงาม
4.4.ขั้นตอนสุดท้าย เอาไม้เสียบลูกชิ้นมาแปะกับกระดาษด้านในโดยเอาสก็อตเทปติดให้แน้นและติดตรงกลางของกระดาษ




5.อาจารย์ให้ลองหมุนผลงานของตัวแล้วบอกว่ามันเกิดอะไรขิึ้น  ผลจากการที่ดิฉันหมุนผลงานของดิฉันเป็นดังนี้ค่ะ



-ทำเกิดการซ้อนของภาพและทำให้เราเห็นเหมือนลูกกุญแจกำลังเสียบอยู่ในแม่กุญแจ
6.อาจารย์มีสื่อมาให้นักศึกษาได้ดู คือกล้องที่ทำจากแกนกระดาษชำระที่ส่องออกมาแล้วทำให้เกิดแสงเป็นสีต่างๆ



7.อาจารย์ให้กลุ่มแต่ละกลุ่มออกมาติด Mind Map หน้าห้อง หัวข้อMind Map มีดังนี้
-ทุเรียน
-กบ
-ไข่
-สับปะรด
-มดตัวนิด
-ดิน
-ส้ม
-กล้วย
8.การนำเสนอบทความ
-เรียนวิทย์ผ่านนิทาน  นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป  แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลายที่เห็นชัดเจนคือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆเด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
 นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์มีวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่างๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล 
-เรียนวิทย์เรื่องพืช  การสอนเรื่องพืชมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยเป็นอย่างเพราะการเรียนรู้เรื่องพืชสามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
-แนวทางการสอนเติมวิทยืให้เด็กอนุบาล  ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ๆ แต่อย่างใดไม่เพียงแต่คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดี ๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็ก ๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ
-การทดลองวิทย์ยาศาสตร์สนุกๆกับคุณหนู    วัยเด็กเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น และเป็นวัยที่กำลังมีการพัฒนาทางปัญญาเพราะการทดลองทางวิทยาศาสตร์จะช่วยส่งเสริมด้านความคิดของพวกเขาและกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กสามารถเรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการวัดที่มาพร้อมกับทักษะการคำนวณ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ยังสามารถช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว
ความรู้เพิ่มเติม
-บิดาแห่งการศึกษาปฐมวัยปฐมวัย   ดิฉันได้สรุปออกมาเป็น Mind Map ดังนี้ค่ะ



-ใครคือผู้ที่เปรียบเด็กเสมือนผ้าขาว  ฌองฌา ครุสโซ มีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญ เด็กควรจะเรียนรู้ตามธรรมชาติคือ การเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือ หรือจากคำพูดบรรยาย  
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์พานักศึกษาไปสอนเด็กปฐมวัยทำหรือนำไปเชื่อมกับวิชาศิลปะได้  และสามารถส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กเวลาเด็กได้ประดิษฐ์หรือคิดสื่อวิทยาศษสตร์
เทคนิคการสอน
อาจารย์สอนแบบให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนด้วย เวลาสอนอาจารย์มักจะถามนักศึกษาตลอดเวลา และอาจารย์มีการจัดการเรียนสอนที่เป็นกันเองมากค่ะไม่กดดันนักศึกษาและทำให้นักศึกษาไม่เบื่อเวลาเรียน
การประเมิน(Assessment)
ประเมินตนเอง
-การแต่งกาย  วันนี้แต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ
-เวลาเข้าเรียน  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาไม่สาย
-การเรียน  วันนี้ดิฉันตั้งใจฟังทั้งอาจารย์และบทความของเพื่อนๆ ค่ะ และตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์หมายให้ในวันนี้
ประเมินเพื่อน
-การแต่งกาย  วันนี้เพื่อนๆทุกแต่งการเรียบร้อยใส่ชุดพละเหมือนไม่มีใครที่แต่งกายแตกต่าง
-เวลาเข้าเรียน ส่วนใหญ่วันนี้เพื่อนเข้าเรียนกันไม่สายค่ะ
-การเรียน   วันนี้ส่วนใหญ่เพื่อนๆจะตั้งใจเรียนมากและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้ส่วนเพื่อนออกมานำเสนอบทความก็ทำได้ดีเพราะเพื่อนมีการสรุปเนื้อหามาแล้วทำให้เพื่อนคนอื่นๆสามารถเข้าใจเนื้อหาของบทความได้ง่ายขึ้น
ประเมินอาจารย์
-การแต่งกาย   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะกับบุคลิกภาพค่ะ
-เวลาเข้าสอน  วันอาจารย์มาตรงต่อเวลาค่ะ
-การจัดการเรียนการสอน    วันนี้อาจารย์มีการนำเสนอสื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาได้และได้อธิบายประโยชน์ของสื่อและประโยชน์ของการทำสื่อด้วยตนเอง  และอาจารย์ก็ยังอธิบาย Mind Map ของนักศึกเพื่อให้นักศึกษาเข้าในเนื้อที่ทำมามากขึ้นค่ะ


Chonticha  Pongkom  No.31





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น