My Melody Crying

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

Save No. 7

Science Experiences Management  for  Early  Childhood
Teacher Jintana  Suksamran
Tuesday, September 30, 2557
Groups 103
Time 08:30 to 12:20
Activities
1.วันนี้อาจารย์ให้จัดที่นั่งโดยให้นักศึกษานั่งตามเลขที่ เพื่อที่จะได้เช็คชื่อง่าย
2.อาจารย์ทำกิจกรรมในห้องเรียนคือ ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์  ขั้นตอนทำดังนี้ค่ะ
-อาจารย์แจกกระดาษให้คนล่ะ 1แผ่น จากนั้นก็พับครึ่ง
-แล้วก็ตัดให้เป็นเหมือนปลีก  แล้วก็พับปลายขึ้น
-แล้วนำคลิบที่หนีบกระดาษมาหนีบไว้



3.จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์โดยจะเล่นแบบไหนก็ได้ ดังนี้ค่ะ


ผลจากการของเล่นวิทยาศาสตร์ ดังนี้ค่ะ
-ของเล่นของเพื่อนบางมีการหมุนที่แตกต่างกันแต่บางคนไม่หมุนเลยค่ะ
-ตรงปลีกตรงของเล่นวิทยาศาสตร์ไม่มีแรงต้านลมพอ
-ของเล่นวิทยาศาสตร์ตกลงพื้นไม่เหมือนกัน  
-มีการทำที่แตกต่างกัน เช่น ตรงปีก เป็นต้น
4.กิจกรรมระดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกรนกระดาษชำระ
-ตัดแกรนกระดาษชำระออกเป็นเศษ1ส่วน2
-จากนั้นนำตุ๊ตตู๋มาเจาะรูที่แกรนกระดาษ
-นำเชือกไหมพรมมาห้อยลงรูที่เราเจาะไว้
-วาดรูปลงกระดาษที่เตรียมไว้แล้วระบายสีให้สวยงามแล้วนำมาแปะที่แกรนกระดาษชำระให้สวยงาม
ตัวอย่างผลงานค่ะ






5.อาจารย์ถามนักศึกษาว่า อากาศและลมแตกต่างกันอย่างไร
-อากาศ คือ อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง หรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่าน เราจะรู้สึกว่ามีอากาศหรือลมพัดมาถูกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำ หรือหมุนกังหันลมได้
-ลม คือ กระแสอากาศที่เคลื่อนที่ในแนวนอน
6.นำเสนอบทความ
-สะกิดให้ลูกคิดแบบวิทยาศาสตร์   ครอบครัวไทยมีวัฒนธรรมการเรียนนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือเด็กต้องเชื่อฟังสิ่งที่ผู้ใหญืสอน และห้ามเถียง ซึ่งมีผลต่อการฝึกคิดแบบวิทยาศาสตร์และมักเป็นเกราะกำบังให้เด็กหยุดสงสัย  อยากรู้หรือมองข้ามในสิ่งตนเองค้นพบหากสิ่งนั้นแตกออกไปจากคำสอนหรือมีบอกไว้ในหนังสือ  ดังนั้นการฝึกลูกเก่งคิดแบบวิทยาศาสตร์จะต้องปรับวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในครอบครัวด้วย
-เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์   โดยยอมรับความคิดเห็นของเด็ก ๆ ฝึกให้เด็กเก็บบันทึกข้อมูล
1. เวลาสอน ผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้แนะนำ เป็นผู้อำนวยความสะอวก แต่ไม่ใช่ผู้บอก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเป็นผู้คอยกระตุ้นให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเอง 
2. ไม่ควรเคร่งเครียดกับการเรียนมากเกินไป เช่น ไม่ควรให้เด็กรู้สึกว่าเรียนแล้วห้ามหัวเราะ ห้ามขยับ เดี๋ยวจะไม่ถึงเป้าหมายในการเรียน แต่ควรจะยั่วยุให้เด็กเกิดความสนใจอยากรู้อยากเห็น 
3. ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุก 
4. ให้ยืดหยุ่นได้ อย่ายัดเยียดความรู้สึกกับเด็ก ควรให้ทีละอย่าง 
5. จัดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ใช้ประสาทสัมผัส เช่น ให้ชิมน้ำมะนาว เด็กจะได้รู้ว่ารสเปรี้ยวเป็นอย่างไร
6. อย่ารีบบอกคำตอบแก่เด็กทันที 
7. กิจกรรมบางอย่างสามารถจัดซ้ำ ๆ ได้ ยังเป็นที่สนใจของเด็ก 
8. ถามคำถามที่กระตุ้นให้เด็กเกิดคุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์ เช่น เป็นคนมีเหตุผล รู้จักคิด สังเกต รวมทั้งให้เด็กรู้จักนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในโอกาสต่าง ๆ

-สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชาจากเด็กปฐมวัย จากไก่และเป็ด     เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้ประสบการณ์สาคัญที่เด็กๆ ได้รับจากกิจกรรมนี้ คือ การแสดงความรู้สึกด้วยคาพูด การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง การสารวจและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของไก่และเป็ด การเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของไก่และเป็ด เป็นต้น
-หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่   เพราะเด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบด้วยตนเองและธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กตลอดเวลา
-ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก  พ่อแม่ต้องจำเป็นต้องกระตุ้นพัฒนาการของลูกเพื่อช่วยให้ลูกได้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพของตน ทั้งนี้เนื่องจากสมองของเด็กแรกเกิดที่เป็นเด็กปกติทุกคนเกิดมาพร้อมด้วยความสามารถที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำวิธีในการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ในวันนี้เราสามารถนำไปสอนในวิชาความคิดสร้างสรรหรือวิชาศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยได้
เทคนิคการสอน
วันนี้อาจารย์โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม คือให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม และใช้สื่อประกอบการปฏิบัติกิจกรรม เช่น  ของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกรนกระดาษชำระ  เป็นต้น และมีการใช้คำถามปลายเปิดกับนักศึกษา  โดยคำตอบของนักษาที่ตอบส่วนมากจะไม่มีผิดไม่มีถูกแต่อาจารย์จะช่วยเสริมเนื้อที่นักศึกษาตอบค่ะเพื่อในนักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
การประเมิน (Assessment)
ประเมินตนเอง
-การแต่งกาย  วันนี้แต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ
-เวลาเข้าเรียน  วันนี้มาเรียนตรงเวลาไม่เข้าเรียนสาย
-การเรียน  วันนี้พยายามตั้งใจเรียนเต็มที่ค่ะและพยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่อาจารย์สอนมากที่สุดและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ทำในวันนี้ค่ะ
ประเมินเพื่อน
-การแต่งกาย  วันนี้ส่วนมากแต่งกายเรียบร้อยค่ะแต่อาจมีบางคนที่ไม่ใส่ชุดพละ
-เวลาเข้าเรียน ส่วนมากจะมารอเรียนพร้อมกันทุกคนค่ะแต่อาจจะมีบางคนที่เข้าเรียนช้าค่ะ
-การเรียน  ส่วนใหญ่วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีค่ะแต่อาจจะมีส่งเสียงดังบ้างค่ะและวันนี้เพื่อนๆทุกคนก็ตั้งใจทำผลงานที่อาจารย์มอบหมายให้ค่ะ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-การแต่งกาย   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะกับบุคลิกภาพค่ะ
-เวลาเข้าสอน  วันอาจารย์มาตรงต่อเวลาค่ะ
-การจัดการเรียนการสอน วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมใหม่มาให้นักศึกษาได้ทำ เช่น ทำของเล่นจากแกรนกระดาษชำระ และมีการอธิบายผลงานของนักศึกษาที่ทำมาค่ะ  และมีการยกตัวอย่างเรื่องของลม และอากาศค่ะ

Chonticha  Pongkom No. 31
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น